vongola-VR
~+(Vongola~VR)+~

มาช่วยกัน โพส ตั้งกระทู้ เเละ เเสดงความคิดเห็น กันเถอะ


~minatsuki~[Wedmaster VR]เเล่ะทีมงาน
vongola-VR
~+(Vongola~VR)+~

มาช่วยกัน โพส ตั้งกระทู้ เเละ เเสดงความคิดเห็น กันเถอะ


~minatsuki~[Wedmaster VR]เเล่ะทีมงาน
vongola-VR
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.


vongola-reborn
 
Portalบ้านค้นหาLatest imagesสมัครสมาชิก(Register)เข้าสู่ระบบ(Log in)

 

 เทพเเล้วเทวะ หญิง ที่ได้ชื่อว่า อยู่ในความชั่วร้าย

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
~chrome~
Admin
~chrome~


จำนวนข้อความ : 83
Join date : 04/11/2010
Age : 37
ที่อยู่ : ที่ไหนก็ได้ที่มีท่านมุคุโร่

เทพเเล้วเทวะ หญิง ที่ได้ชื่อว่า อยู่ในความชั่วร้าย Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: เทพเเล้วเทวะ หญิง ที่ได้ชื่อว่า อยู่ในความชั่วร้าย   เทพเเล้วเทวะ หญิง ที่ได้ชื่อว่า อยู่ในความชั่วร้าย EmptySun Nov 07, 2010 9:08 pm

เทพเเล้วเทวะ หญิง ที่ได้ชื่อว่า อยู่ในความชั่วร้าย Duraga4



พระแม่ทุรคา หรือที่ชาวฮินดูเรียกไปต่างๆ นาๆ เช่น ดุรกา ดุกา ดูลาคา นั้น หาได้มีกำเนิดเหมือนเหล่าเทพเทวีองค์อื่นๆ ไม่ หากแต่การกำเนิดมาของพระนางนั้นได้รวมไว้ซึ่งอำนาจบารมีของเทวาทั้งหลาย เพื่อกำจัดอสูรร้ายตนหนึ่ง พระแม่มีเทวลักษณะที่งดงามหมดจด หลายท่านคิดว่าพระแม่คือพระองค์เดียวกับพระแม่อุมาเทวี แต่ในความจริงแล้วนั้นพระแม่คือมหาเทวี คือเป็นเทวีทั้งสามองค์ที่แบ่งภาคมานั่นเอง ดังจะเล่าในความเป็นมาดังนี้ อสูรรัมภะนั้น ไม่มีบุตรเลยเช่นเดียวกับพี่ชายคือ อสูรกะรัมภะ ทั้งสองจึงเดินทางไปยังแม่น้ำปัญจนัท เพื่อบำเพ็ญตบะแต่อสูรกะรัมภะบำเพ็ญตบะในน้ำ ส่วนรัมภะบำเพ็ญบนบก พระอินทร์เห็นว่าจะเป็นภัยใหญ่ในอนาคต ดังนั้นจึงแปลงกายเป็นจระเข้ใหญ่ ไปกัดอสูรกะรัมภะตาย ฝ่ายอสูรผู้น้องเห็นดังนั้นก็รู้สึกโกรธแค้นจึงตั้งใจถวายศีรษะแก่พระเพลิง แต่พระเพลิงห้ามไว้และให้พร อสูรจึงขอพรว่าขอให้มีลูกชายคนหนึ่ง ที่มีชีวิตเป็นอมตะ เก่งกาจกล้าหาญยิ่งใหญ่ในสามโลก หลังได้คำพรจึงเดินทางกลับระหว่างทางได้พบควายเพศเมียเข้าจึงได้ไปสมสู่ด้วย และนำนางควายกลับเมืองบาดาลต่อไประหว่างทางรัมภะถูกควายตัวผู้ที่พิสมัยในนางควายขวิดตาย เหล่าอสูรจึงสังหารควายผู้ตัวนั้นและนำศพรัมภะมาทำพิธีศพ ระหว่างพิธีเผาศพ นางควายรู้สึกเศร้าใจจึงกระโดดลงกองไฟตายตามไป แต่หลังไฟมอดลง ก็ได้มีทารกนอนอยู่บนกองขี้เถ้านั้น ทารกนี้เป็นบุตรของรัมภะกับนางควาย และมีชื่อต่อมาว่า มหิษาสูร หรือ มหิษะ

ต่อมามหิษะได้ทำสมาธิระลึกถึงพระพรหมอยู่ 10,000 ปี พระพรหมพอใจมากและได้ให้พรว่า มหิษาสูรจะเป็นอมตะ ไม่ว่าเทพเจ้า มนุษย์ อสูรเพศชาย ก็มิอาจสังหารได้ แต่ผู้ที่จะฆ่าได้คือหญิงสาวที่ไม่ได้เกิดอย่างธรรมชาติ เป็นหนึ่งในอำนาจทั้งหมดของจักรวาลจึงสังหารได้ เมื่อมหิษาได้รับพรดังนี้แล้ว จึงได้กลับเมืองไปจัดตั้งกองทัพเพื่อแก้แค้นแทนลุงของตนและขยายอำนาจของตนออกไป เหล่าเทวดาก็ออกมาต่อสู้ต่อกรกับมหิษะ แต่ด้วยอำนาจพรของพระพรหมจึงทำให้ไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด จนเหล่าเทวดาเข้าขอคำปรึกษากับเหล่ามหาเทพทั้งหลายเพื่อให้ยุติในความชั่วร้ายเหล่านี้ พระพรหมจึงได้บอกว่าเราได้ให้พรแก่มหิษะว่ามหิษาสูรจะเป็นอมตะ ไม่ว่าเทพเจ้า มนุษย์ อสูรเพศชาย ก็มิอาจสังหารได้ แต่ผู้ที่จะฆ่าได้คือหญิงสาวที่ไม่ได้เกิดอย่างธรรมชาติ เป็นหนึ่งในอำนาจทั้งหมดของจักรวาลจึงสังหารได้ พระศิวะเจ้าจึงทรงดำริที่จะรวมอำนาจของเทวะสร้างเทพสตรีออกมาเพื่อปราบมาร และด้วยอำนาจของเหล่าเทพทั้งหลายจึงก่อให้เกิดหญิงที่งดงามที่สุดในสามโลกขึ้นมา นางมีดวงตากลมดำสนิท ปากแดงได้รูป โครงหน้าสวยงาม ผมดำสนิท ซึ่งเกิดจากอำนาจนิรมิตของเหล่าเทพเช่นผมที่ดำสนิทมาจากแม่อุมาเทวี ปากแดงได้มาจากพระสกัณฑะ เป็นต้น เหล่าเทวะได้ขนานนามแม่ว่า อัมพิกาเมื่อเทวีและอาวุธรวมทั้งอำนาจบริวารพร้อมแล้ว จึงได้ส่งฑูตไปห้ามหิษะ เพื่อตักเตือนและให้ยอมรับในอำนาจของพระนาง และขอขมาต่อเหล่าเทพทั้งหลาย แต่มหิษะกลับหัวเราะเยาะว่าพระแม่เป็นเพียงสตรี แต่กลับจะมาท้าต่อยตี จึงได้ยกกองทัพออกประจันหน้ากับพระแม่

แต่แล้วมหิษะได้หลงตะลึงในความงามของพระแม่ ถึงกับออกปากเกี้ยวพาราศีเจ้าแม่ พระแม่พยายามเลี่ยงด้วยเมตตา แต่มหิษะกลับไม่จนใจจึงหมายจะเข้าปลุกปล้ำ พระแม่จึงได้ทรงเนรมิตกายให้มีสิบกร(บางตำราว่าแปดกร)แล้วเข้าต่อสู้ มหิษะก็หัวเราะเพราะลึมในคำพรของพระพรหมพระแม่จึงทรงขว้างเสียด้วยตะลุมพุก แต่มหิษะโดนเพียงเล็กน้อย จึงได้แปลงกายเป็นกระบือตามเหล่าเดิม แล้วหนีไปพระแม่จึงออกติดตาม สิงโตพาหนะของพระแม่ได้บุกไปขย้ำตัวมหิษะไว้ พระแม่จึงได้เสด็จเข้ามาจัดการด้วยการแทงตรีศูลย์ลงไปอีกครั้ง จึงได้สิ้นฤทธิ์ของอสูรกระบือมหิษาสูรตนนี้



เทพเเล้วเทวะ หญิง ที่ได้ชื่อว่า อยู่ในความชั่วร้าย Durga1

เหล่าเทพจึงได้สรรเสริญพระแม่ว่าเป็นพระแม่มหิงษา ซึ่งหมายถึงผู้ปราบอสูรมหิงษาสูร พระแม่ไม่ได้สมรสเป็นชายาของใคร แต่ได้เสด็จเร้นกายเข้าไปบำเพ็ญบารมีของตนเอง มิได้ยุ่งเกี่ยวกับผู้ใด พระแม่จึงได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้บริสุทธิ์(พรหมจารีย์) และพระแม่ยังได้รับการขนานนามอีกว่า ทุรคา แปลว่าผู้เข้าถึงได้ยาก

พระนามอื่นๆของพระแม่ทุรคา อัมเบ-อัมบากี-จักกะดัมเบ-จันดีกา-จามุนดี-ชินนามัสตา-ธาษะบูชา-เทวีมหามายา-ทุรคาเทวี-ทุรคาวิจายา-จากัดฮาตรี-จากัดเคารี-จาตาวีดาศิ-กาลีมา-กาลราตรี-กาปาลินี-การาลี-มาริสาสุรมานี-มุกตะกีศิ-ศิมหาวาหินี-ธารา-วินดายาวาสินี-มาเคารี-สัตวันตี-มหาโยคีนีมาตา-สาวิตรี-สุเคศวรมาตา-อิศกีชายา-กาดหายานี-มหาศิวานี-บาวานี-อันนาปูรา-มันสา-สิทธิมาตา-สุพัตรา ฯลฯ



เทพเเล้วเทวะ หญิง ที่ได้ชื่อว่า อยู่ในความชั่วร้าย Hindu_God

ตามปฏิทินฮินดูในรอบปีมีเทศกาลงานสำคัญต่างๆ เริ่มจากขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า ไปจนถึงแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ อยู่ ๓๖ งาน หากงานที่ชาวฮินดูในสยามประเทศเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่จนเป็นที่รู้จักกว้างขวางคืองานนวราตรี งานนวราตรีจัดขึ้นปีละสองครั้ง คือในช่วงปีใหม่ (ขึ้น ๑-๙ ค่ำ เดือนห้า ) และในช่วงกลางปี (ขึ้น ๑ -๙ ค่ำ เดือน ๙ เรียกว่า สรัททิยะนวราตรี (Shardiya Navaratri) ความเชื่อเก่าแก่ของชาวอินเดียนั้นถือกันว่าในหนึ่งปีประกอบไปด้วยฤดูร้อนและฤดูหนาว ฤดูกาลที่ผลัดเปลี่ยนส่งผลต่อร่างกายและจิตใจมนุษย์ จึงเกิดการบวงสรวงเทพเจ้าผู้คุ้มครองเพื่อขอพลังแห่ง ชีวิต ฮินดูในแดนไทย ร่องรอยการนับถือศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูในดินแดนไทยนั้น ว่ากันว่าเก่าแก่มาแต่ครั้งพระโสณะและพระอุตตระเดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิราวพุทธศตวรรษที่ ๓ มีคณะพราหมณ์ติดตามมาด้วย จารึกสมัยสุโขทัยกล่าวถึงพราหมณ์ในสมัยนั้นเช่นกัน ต่อเนื่องมาในสมัยอยุธยา พราหมณ์มีบทบาทสำคัญในราชสำนักสืบมาถึงสมัยรัตนโกสิน ทร์ มีกรมพิธีพราหมณ์ประกอบพิธีสำคัญแห่งแผ่นดิน ซึ่งต่อมาถูกยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ ๗ ปัจจุบันประเทศไทยยังคงมีพราหมณ์ประกอบพิธีราชสำนัก โดยมีพระครูวามเทพมุนีเป็นหัวหน้าพราหมณ์แห่งศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู หากแต่ผู้นับถือศาสนาพราหมณ์ที่คลี่คลายมาเป็นศาสนาฮินดูนั้น๑ ไม่ได้มีอยู่จำเพาะพราหมณ์ในราชสำนัก

มีเรื่องเล่ากันมาว่า พ่อค้าประชาชนและคนทั่วไปที่นับถือศาสนาฮินดูกลุ่มแร กๆ เข้ามาตั้งหลักแหล่งในดินแดนไทยหลายร้อยปีแล้ว และคงเป็นกลุ่มที่นับถือเทพสตรีเป็นหลัก ด้วยเคยมีเรื่องเล่าถึงศาลไม้ใต้ต้นสะเดาอันเป็นที่ประทับของพระศรีมารีอัมมัน หรือพระอุมาเทวี ตั้งอยู่กลางไร่อ้อยที่กลายมาเป็นบริเวณหัวลำโพงในปัจจุบัน ต่อมากลุ่มพ่อค้าชาวฮินดูเห็นชอบให้ย้ายมาสร้างวัดพร ะศรีมหาอุมาเทวี หรือวัดแขก สีลม ในสมัยรัชกาลที่ ๕

เทพเจ้าในศาสนาฮินดูมีอยู่เกินคณานับ คัมภีร์ปุราณะต่างฉบับอธิบายความเป็นมาและความสัมพัน ธ์แตกต่างกัน ส่งผลให้มีลัทธินิกายต่างๆ มายมายตามเทพเจ้าที่นับถือ นิกายใหญ่ๆ ได้แก่ไวษณพนิกาย บูชาพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นหลัก ไศวะนิกาย บูชาพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นมหาเทพ และนิกายศักติ ซึ่งยึดถือศักติ คือพระอุมา-ชายาพระศิวะ และเทพนารีทั้งปวงเป็นสรณะ ณ แดนภารตะ การจัดงานนวราตรีมีหลายรูปแบบ กอปรด้วยรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันตามภูมิสถาน๒ บางแห่งรู้จักกันในชื่อเทศกาลดูเซร่า (Dussehra-ทศหรา?) หลายพื้นที่ในอินเดียภาคเหนือมักถือเทศกาลนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองวาระยิ่งใหญ่ที่พระรามได้ชัยชนะจากการปราบทศกัณฐ์ จึงมีการทำหุ่นขนาดใหญ่ของทศกัณฐ์พร้อมกุมภกรรณ (Kumbhakarna) น้องชาย และเมฆนาถ (Meghnadh - รณพักตร์หรืออินทรชิตในพากย์ไทย) ขึ้นมา ก่อนเผาไฟในวันที่สิบของเทศกาล เรียกชื่องานช่วงนี้ว่า “ทศหรา”๓ หรือวัน (พระราม) ชนะทศกัณฐ์ ส่วนทางภาคใต้ซึ่งเป็นดินแดนแห่งทศกัณฐ์ ไม่มีประเพณีดังกล่าว เพราะเป็นดินแดนแห่งทศกัณฐ์เฉลิมฉลองสิ่งอื่นแทน เช่นเทศกาลปงกัลของสังคมชาวนา หรือทุรคาบูชา เทศกาลเฉลิมฉลองการปราบมหิษาสูรของพระแม่ทุรคา ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยแห่งการเฉลิมฉลองต่างไปตามแ ต่ละถิ่น หลายแห่งในรัฐทมิฬนาฑู อินเดียใต้กำหนดจัดงานนวราตรีเก้าวันเก้าคืน โดยแบ่งเป็นการบูชาเทพนารีสามองค์ คือ พระลักษมี พระสรัสวดี และพระอุมาเทวี องค์ละสามคืนไล่เรียงกันไป อิทธิพลของเทศกาลนวราตรีที่ส่งมายังแดนไทย ถือเป็นช่วงที่พระแม่อุมาและขบวนเทพจะเสด็จมาสู่พื้น พิภพเพื่อประทานพรแก่ชาวโลก จึงมีการบูชาพระศรีมหาอุมาเทวีเก้าปางในเก้าคืน คือ

คืนแรก ปางไศลปุตรี ธิดาของหิมพาน ราชาแห่งภูเขา / คืนที่สอง ปางพรหมจาริณี พระแม่เกิดขึ้นเอง ไม่มีพ่อแม่ และอยู่เป็นโสด / คืนที่สาม ปางจันทรฆัณฎา ทรงปราบอสูรด้วยเสียงระฆัง / คืนที่สี่ ปางกูษามาณฑา ทรงปราบอสูร ด้วยอาวุธ (บ้างว่าเป็นปางทุรคา) / คืนที่ห้า ปางสกันทมาตา ทรงเลี้ยงพระขันทกุมาร โอรสผู้เกิดจากพระศิวะ / คืนที่หก ปางกาตยานี ทรงปราบอสูร (บ้างว่าทรงปราบมหิษาสูร) / คืนที่เจ็ด ปางกาลราตรี หรือกาลี ทรงเสวยเลือดอสูร / คืนที่แปด ปางมหาเคารี ทรงเป็นเจ้าแม่แห่งธัญชาติ ทำให้พืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์ / คืนที่เก้า ปางสิทธิธาตรี ทรงเป็นเจ้าแม่แห่งความสำเร็จ

ส่วนทางวัดพระศรีนาคาทุรคาเทวี จะจัดงาน 3 วันแรกบูชาพระแม่ทุรคา วันที่ 4 บูชาแม่ลักษมี วันที่ 5 บูชาแม่สุรัสวดี วันที่ 6.7.8 บูชาพระแม่ทุรคา และวันสุดท้ายคือวันกาวดีของพระแม่ จะจัดขบวนขึ้น 3 ขบวน คือ 1.พระพิฆเนศวร์ 2.พระขันธกุมา 3.ขบวนของพระแม่

ขอขอบตุณ วิชญดา ทองแดง / ladypic / [url=http://www.agalico.com/board/]http://www.agalico.com/board/[/url]


ขึ้นไปข้างบน Go down
http://vongola-reborn.top-forum.net
 
เทพเเล้วเทวะ หญิง ที่ได้ชื่อว่า อยู่ในความชั่วร้าย
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
vongola-VR :: Living mafia room:ห้องนั่งเล่นมาเฟีย :: Talk Corner .:คุยเรื่องทั่วไป-
ไปที่: